Author: GetHR Admin

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจ้างคนต่างด้าว ที่ HR มือใหม่ควรรู้

ความรู้เบื้องต้นสำหรับ HR มือใหม่ เมื่อบริษัทจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าว คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง “คนต่างด้าว” หมายถึง  บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย “ทำงาน” หมายถึง  การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง “ใบอนุญาต” หมายถึง  ใบอนุญาตทำงาน “ผู้รับใบอนุญาต” หมายถึง  คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาต “ลูกจ้าง” หมายถึง ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 13 (1) และ (2)  และมาตรา 14 ให้ทำงานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 15 (เป็นลูกจ้างที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ความหมายของคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตราต่างๆ ได้แก่ คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 9  แบ่งออกเป็น

Read More

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ที่ HR ควรรู้

ต้องจัดทำขึ้นเมื่อใด ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 ระบุให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป  จัดให้มีข้อบังคับการทำงาน มีจุดประสงค์จัดทำเพื่ออะไร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย สิทธิ หน้าที่ แนวปฏิบัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง  มีหลักเกณฑ์อย่างไร ต้องเป็นภาษาไทย ต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดเก็บสำเนาข้อบังคับไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา ต้องเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง  เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบและดูได้โดยสะดวก หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องประกาศภายใน 7 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานอย่างน้อยให้ครบ 8 ข้อตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องมีอะไรบ้าง ตามกฎหมายกำหนดให้มีรายละเอียด 8 รายการดังนี้

Read More

สิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน

HR มือใหม่ทราบมั้ยคะว่า สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนมีอะไรบ้างและเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน HR ต้องปฎิบัติอย่างไร วันนี้ผู้เขียนสรุปมาเพื่อให้ HR มีความเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง… กองทุนเงินทดแทน คุ้มครองเมื่อใด และกรณีใดบ้าง คุ้มครองลูกจ้างทันทีนับตั้งแต่วันเข้าทำงานให้นายจ้าง คุ้มกรณีลูกจ้างประสบอันตราย, เจ็บป่วย ตาย หรือสูญหายจากการทำงานให้นายจ้าง สิทธิประโยชน์เงินทดแทนที่ลูกจ้างได้รับมีอะไรบ้าง  ค่ารักษาพยาบาล  ได้รับสิทธิค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาท ต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง  หรือหากไม่เพียงพอสามารถจ่ายเพิ่มขึ้นได้อีกสูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาท ขึ้นอยู่อาการบาดเจ็บความรุนแรงของการประสบอันตราย  ทั้งนี้การจ่ายค่ารักษาพยาบาลจะต้องผ่านการพิจารณาและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการแพทย์และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน  ค่าทดแทน มี 4   กรณี 2.1  กรณีไม่สามารถทำงานได้  หากลูกจ้างมีการหยุดพักรักษาตั้งแต่ 1 วัน ได้รับสิทธิค่าทดแทนร้อยละ 70

Read More

การนำส่งเงินสมทบ

อีกหน้าที่หนึ่งของนายจ้างที่มีต่อประกันสังคม  คือการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนซึ่งประกอบไปด้วย 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคม และ กองทุนเงินทดแทน ซึ่งแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกันดังนี้ กองทุนประกันสังคม คือกองทุนที่ดูแลลูกจ้างหรือผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ที่ไม่เกิดจากการทำงานให้นายจ้าง  นอกจากนี้ยังคุ้มครองถึงกรณี คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงานอีกด้วย โดยเงินสมทบกองทุนนี้จะมาจากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ที่มีหน้าที่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือนที่มีการจ่ายค่าจ้าง อัตราการนำส่งเงินสมทบ กฏหมายกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่นำส่งเงินสมทบโดยหักจากเงินค่าจ้างของลูกจ้างในอัตราร้อยละ 5  และนายจ้างจะต้องสมทบในอัตราเท่ากันคือร้อยละ 5  และรัฐบาลร่วมจ่ายสมทบด้วยในอัตราร้อยละ 2.75 แล้วจึงนำส่งสำนักงานประกันสังคมพร้อมยื่นแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ในกรณีที่เดือนนั้นมีลูกจ้างป่วยไม่มีค่าจ้างให้ใส่ค่าจ้างเป็น 0 และเงินสมทบเป็น 0 วิธีการคำนวณ จะคำนวณเงินสมทบจากค่าจ้างลูกจ้าง ในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650

Read More

สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม

HR มือใหม่ทราบหรือไม่คะว่า เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่เราถูกหักไปทุกเดือนนั้น เราจ่ายไปเพื่ออะไร และได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง… กองทุนประกันสังคม สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตให้กับผู้ประกันตน ให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิที่ประกันสังคมกำหนด โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตรา 5% ของค่าจ้าง  แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้ประกันตนจะส่งเงินสมทบแต่เพียงฝ่ายเดียว นายจ้าง และรัฐบาล ก็มีหน้าที่ที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้กับลูกจ้างหรือผู้ประกันตนด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากตารางด้านล่างนี้ ประกันสังคมคุ้มครอง 7 กรณีดังนี้ 1.กรณีเจ็บป่วย โดยแยกเป็น   กรณีเจ็บป่วยปกติ  เข้ารับการรักษาพยาบาลตามสถานพยาบาลที่ประกันสังคมกำหนดหรือในเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ กรณีที่ต้องหยุดพักตามคำสั่งแพทย์  หากหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในวันลาป่วยตามกฎหมายแรงงานกำหนดแล้ว จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

Read More

ประกันสังคมสำหรับ HR มือใหม่

ประกันสังคม เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ HR มือใหม่ ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญพอๆ กับ  กฎหมายแรงแรงงานเลยนะคะ    เนื่องจากหน้าที่ของนายจ้างที่กำหนดโดยสำนักงานประกันสังคม  หลายๆ อย่างจะมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดไว้ให้ปฏิบัติดังนั้นหาก HR มือใหม่อย่างเราพลาดหรือหลงลืม อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทได้  เรามาดูกันค่ะ ว่า HR มือใหม่ ต้องรู้อะไรบ้าง 1. ยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง           นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป (มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน  ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

Read More

งานจัดอบรม กับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน EP.2

หากจัดไม่ครบตามสัดส่วน จะต้องทำอย่างไร  นายจ้าง หรือผู้ประกอบการต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ และให้ผู้ประกอบกิจการในข่ายบังคับยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สท.2) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปทุกปี การคำนวณเงินสมทบ อัตราเงินสมทบ = ร้อยละ 1 ของฐานค่าจ้างที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ ฐานค่าจ้าง    = อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดเป็นอัตราเดียวกันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง แรงงานที่ผู้ประกอบกิจการจ่ายในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการส่งเงินสมทบ x 30 อ้างอิง: ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 9) ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ต่ำสุด = 308 บาท การคำนวณเงินเพิ่ม ผู้ประกอบกิจการรายใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนด

Read More

ฝ่ายฝึกอบรม กับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน EP.1

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ฝ่ายฝึกอบรม (Training & Development) จะเรียกสั้นๆ ว่า กรมพัฒฯ มีหน้าที่อะไร (ฉบับย่อ) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ เกี่ยวกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน มาตรฐานฝีมือแรงงาน การรับรองความรู้ความสามารถ และการส่งเสริม เครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ (ฉบับเต็ม) อ่านได้ที่ http://www.dsd.go.th/DSD/Home/Mission ทำไมต้องติดต่อกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน – ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องยื่นขอรับรองหลักสูตรกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เงื่อนไข – ต้องจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยในรอบปี คำนวณยังไงดูเลยจ้า หมายเหตุ จำนวนลูกจ้าง ณ สิ้นเดือนต้องตรงกับจำนวนที่ยื่นประกันสังคม ต้องขอจำนวนที่ payroll หรือไม่ก็สวัสดิการนะคะ สามารถนับรวมลูกจ้างซึ่งเป็นผู้รับการฝึกที่ได้ลาออกไปแล้วในระหว่างปีด้วย

Read More

หาคน ที่กรมจัดหางาน

กรมการจัดหางาน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำ คุ้มครองคนหางาน ศึกษา วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงาน และแนวโน้มตลาดแรงงานเป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารด้านการส่งเสริมการมีงานทำ เพื่อให้ประชากรมีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และความถนัด ไม่ถูกหลอกลวง ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานกฎหมายว่าด้วย การทำงานของคนต่างด้าวและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงานและแนวโน้มความต้องการแรงงานและเป็นศูนย์ทะเบียนข้อมูลแรงงาน 3. พัฒนาระบบ รูปแบบ มาตราการ และวิธีการด้านการจัดหางานจัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านแรงงานของกระทรวง รวมทั้งกำหนดมาตราฐานอาชีพและอุตสาหกรรม  4. ให้คำปรึกษา ส่งเสริม และให้บริการแนะแนวอาชีพ ทดสอบความถนัดให้แก่ประชาชน  5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย (ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมการจัดหางาน) การขึ้นทะเบียนนายจ้างเพื่อคัดรายชื่อคนว่างงาน มีขั้นตอน ดังนี้  1. เอกสารที่ต้องเตรียม สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ได้ที่  https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/ar1_th/7bda1a41a2dbce2570911a2821abbe06.pdf http://smartjob.doe.go.th/INF/MultiMedia

Read More

ตรวจประวัติอาชญากรรมอย่างไร ไปไม่ให้เสียเวลา

ฝ่ายบุคคล กับ ขั้นตอนขอตรวจประวัติอาชญากรรม ไม่น้ำเยอะเอาแต่เนื้อ ทำยังไง เอกสารประกอบพร้อมตัวอย่าง ไปดูกัน 1. หนังสือขอตรวจสอบประวัติอาชญากร ต้องพิมพ์เองเนื้อหาดังตัวอย่าง http://criminal.police.go.th/documents/เอกชน-ตรวจชื่อ.pdf ด้วยหัวกระดาษบริษัท ผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตราบริษัท 2. เตรียมเอกสาร ดาวน์โหลดจากคู่มือ http://www.criminal.police.go.th/documents/manual-02.pdf หนังสือยินยอมให้ตรวจสอบประวัติบุคคล (หน้า 25) ดาวน์โหลดมาเขียนได้ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน (พนักงานผู้ถูกตรวจ+ลายเซ็น) หนังสือนำส่งขอตรวจสอบด้วยชื่อ-ชื่อสกุล หน้า 28 บัญชีรายชื่อบุคคลที่ขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หน้า 29 ***สำหรับหน้า 28 – 29 ต้องพิมพ์เองทุกหน้า ไม่ปริ้นท์มากรอกด้วยลายมือ พิมพ์ด้วย Angsana New ขนาดอักษร16

Read More