Year: 2019

หน่วยงานราชการที่ HR ติดต่อ

การทำงาน HR หลีกเลี่ยงไม่ได้กับกฎระเบียนข้อบังคับต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอก เช่น กฎระเบียนบริษัท กฎหมายแรงงาน การทำสัญญาว่างจ้าง การตรวจสอบประวัติพนักงาน รวมไปถึงการดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการต่างๆ ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กร  ซึ่งต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชนมากมาย ในบทความนี้ขอกล่าวถึงหน่วยราชการที่ HR ต้องติดต่อด้วยหลักๆ ประมาณนี้ค่ะ  ส่วนรายละเอียด ขั้นตอนการดำเนินงาน เอกสารประกอบ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทร. ที่ไหนอย่างไร ต้องเป็นบทความหน้านะคะ…ขอติดไว้ก่อน หากเพื่อนๆ คนใดมีเพิ่มเติมจากนี้ก็แนะนำกันเข้ามาได้นะคะ จะได้เป็นการแบ่งปันเพื่อนร่วมอาชีพกันค่ะ ขอขอบคุณ

9 หลักการ ที่ควรคำนึงก่อนเลือกซื้อโปรแกรมเงินเดือน

1. มีปัญหา (Pain Point) อะไรลิสมาเป็นข้อๆ  เริ่มต้นก่อนซื้อโปรแกรมเงินเดือน ควรลิสปัญหาของการทำเงินเดือนออกมาก่อน เช่น – ช่วงทำเงินเดือนทีไร กลับบ้านดึกทุกวัน – กว่าจะรวบรวมโอทีจากแต่ละสาขา เล่นเอาเหนื่อย – การเขียนลงบันทึกมีโอกาสเอื้อประโยชน์กันได้ – เอางานกลับไปทำที่บ้านก็ไม่ได้ เพราะข้อมูลอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ ต่างๆ เหล่านี้จะให้คำตอบคุณได้ว่าคุณต้องการโปรแกรมเงินเดือนแบบไหนมาช่วยงาน  2. ให้ผู้ใช้งาน (User) ร่วมคัดเลือกโปรแกรม โดยทั่วไป ผู้ที่ตัดสินใจซื้อโปรแกรม คือ เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหาร เมื่อนำมาให้พนักงานใช้งานแล้วเกิดปัญหาใช้งานยากพนักงานอาจมีการต่อต้าน แต่อันที่จริงแล้วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมักจะมีการต่อต้านเสมอ ดังนั้น การเลือกซื้อโปรแกรมควรให้ payroll มีส่วนร่วมในการคัดเลือกจะช่วยลดปัญหา 3. งบประมาณ งบประมาณที่ตั้งจากฝ่ายบริหารเป็นปัจจัยหลักที่ต้องนำมาใช้ในการตัดสินใจ แต่หากว่าเราได้โปรแกรมที่เหมาะสมนำมาช่วยงานได้

Read More

ทำความรู้จักสายงาน HR

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล Human Resources หรือ HR มีหลายส่วนงานเหมือนอย่างเช่นสายงานอื่น แบ่งตามหน้าที่หลักในงานนั้นๆ โดยผู้เขียนขอสรุป ดังนี้ 1. ส่วนวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning)  ชื่อตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น Manpower Planning, HR Planning เป็นต้น มีหน้าที่ความรับผิดชอบ วิเคราะห์หน้าที่งาน (Job Analysis) วางแผนการใช้กำลังคน เพื่อจัดทำโครงสร้างบริษัท (Organization Chart) มีกี่แผนก แต่ละแผนกต้องการพนักงานกี่คน  ควบคุมจำนวนพนักงานให้สอดคล้อง เหมาะสมกับการดำเนินงานภายในองค์กร 2. ส่วนสรรหาว่าจ้าง (Recruitment & Selection) ชื่อตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น Recruitment,

Read More

5 ข้อที่ควรทำ ก่อนการเปลี่ยนสายงาน

1. สำรวจ ค้นหา และยืนยันกับตนเองก่อน ว่าอยากเปลี่ยนสายงาน หลายๆ คนโชคดีเรียนจบมาแล้วได้ทำงานในสายงานที่ตนเองชอบ แต่ก็มีหลายๆ คนที่ยังไม่พบวตนเอง ว่าชอบงานอะไร หรืออยากทำงานด้านไหน อย่างที่ผู้เขียนเคยเกริ่นตั้งแต่ “บทนำ” หาอยู่นานกว่าจะเจอ ลองเอากระดาษมาจดดูว่าต้องการอะไร เช่น ต้องการงานที่เป็นเวลาอยู่ในสำนักงาน หรือ ชอบออกไปพบป่ะคนเยอะ อย่างงาน Event เป็นต้น 2. หาข้อมูล ศึกษาเพิ่มเติมในสายงานใหม่ เมื่อได้กลุ่มงานที่เราสนใจแล้ว ควรหาข้อมูลเพื่อยืนยันว่ากลุ่มงานนั้นมีหน้าที่อะไร มีกี่ส่วนงาน เราอยากทำส่วนงานไหน เช่น งาน HR มี แรงงานสัมพันธ์ ส่วนงานอบรมพัฒนา ฯลฯ  3. สื่อสารกับคนในครอบครัว เพราะการเปลี่ยนอาชีพ หรือสายงานใหม่อาจจะส่งผลกระทบกับในครอบครัว

Read More

บทนำ

ประสบการณ์ เมื่อเริ่มต้นสายงานใหม่ เมื่อ 20 กว่าปีก่อน (กรุณาอย่าถามอายุ ^^) จากที่ผู้เขียนจบด้านศิลปะ เคยเข้าฝึกงานกับกองถ่ายภาพยนตร์ และได้รู้ตัวเองในวันนั้นว่าสายงานนี้คงไม่ใช่ทาง แต่ก็ยังคง ไม่ทราบตัวเองว่าอยากทำงานอะไร จึงลองสมัครงานครูโรงเรียนเอกชน แรกๆ ก็สนุก นักเรียนน่ารัก แต่ยังไม่ใช่อยู่ดี ระหว่างทำอาชีพครู ผู้เขียนไปเรียนพิมพ์ดีด และภาษาอังกฤษ เพราะช่วงเวลานั้นหากเป็น 2 ทักษะนี้ก็จะสมัครงานได้ง่าย  จากนั้นได้รับงานใหม่เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ ทำหน้าที่อยู่หลายปี ได้ขึ้นถึงระดับหัวหน้างาน เมื่อเข้ามาสัมผัสงานส่วนสำนักงาน (Back office) และร่วมงานกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resources) ทำให้ผู้เขียนเข้าใจระบบงาน และสนใจงานด้านนี้มากขึ้น ความตั้งใจที่จะไปต่อในอาชีพการงานจึงชัดเจนมากขึ้น  เมื่อต้องการเปลี่ยนสายงานมาทำ HR ผู้เขียนตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโทด้านบริหารงานบุคคล และสมัครงานใหม่ในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล

Read More

สวัสดี HR หน้าใหม่!

งาน หางาน สมัครงาน HR งานบุคคล อัพเดตตำแหน่งงานใหม่ทุกวัน จากบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่นี่ สำหรับคนที่ต้องการจะย้ายงานงาน มาทำงาน HR โดยที่ยังไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อน อยากจะเรียนรู้ว่าสายงาน HR มีอะไรบ้าง เนื้องานเป็นอย่างไร ความเจริญเติบโตก้าวหน้าเป็นแบบไหน ความท้าทายต่าง สมัครรับข่าวสารจากเราได้โดยกดที่ ปุ่มสมัคร ได้เลย