ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจ้างคนต่างด้าว ที่ HR มือใหม่ควรรู้

ความรู้เบื้องต้นสำหรับ HR มือใหม่ เมื่อบริษัทจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าว

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

“คนต่างด้าว” หมายถึง  บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

“ทำงาน” หมายถึง  การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง

“ใบอนุญาต” หมายถึง  ใบอนุญาตทำงาน

“ผู้รับใบอนุญาต” หมายถึง  คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาต

“ลูกจ้าง” หมายถึง ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 13 (1) และ (2)  และมาตรา 14 ให้ทำงานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 15 (เป็นลูกจ้างที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

ความหมายของคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตราต่างๆ ได้แก่

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 9  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1.  ประเภททั่วไป หมายถึง คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่ใช้ทักษะ ความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร(ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถไม่ได้ หรือเป็นการเข้ามาทำงานในกิจการที่ตนเองลงทุน  หรือกิจการของคู่สมรส หรือกิจการที่ร่วมลงทุน
  2.  ประเภทตลอดชีพ หมายถึง คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 322 มีสาระสำคัญว่า ใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515  ให้ใช้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวเว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่
  3. ประเภทแจ้งการทำงาน  หมายถึง  คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนที่มีระยะเวลาทำงานไม่เกิน 15 วันและจะทำงานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ
  4. ประเภทพิสูจน์สัญชาติ  หมายถึง  แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อนุญาตให้ทำงานได้ 2 งานคือ งานกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน (ประเภทนี้ใบอนุญาตทำงานชนิดบัตรชมพู)

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 11  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ประเภททั่วไป หมายถึง คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่ใช้ทักษะ ความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร (ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถไม่ได้ เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงานภาย 30 วัน
  2. ประเภทนำเข้า หมายถึง แรงงานต่างด้าวว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ภาคี (MOU)  โดยขออนุญาตทำงานได้ 2 งาน คือ งานกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 13 (1) และ (2)  หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งไม่อาจขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 9 เพราะอาจขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติและผลกระทบต่อสังคม

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 14  หมายถึง  คนต่างด้าวที่มีภูมิลำเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง อาจได้รับอนุญาตให้ทำงานบางประเภทหรือลักษณะงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลที่กำหนดได้

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 12 หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายพิเศษ ได้แก่  กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร แล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติ   ดังนี้

  1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือการนิคมอุตสาหกรรมต้องยื่น

ขอรับใบอนุญาตทำงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วันนับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ

  •  คนต่างด้าวไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราวจะ

ได้ทำงานต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาต ได้แก่

  1. มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับใบอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (NON-IMMIGRANT) โดยไม่ใช่ในฐานะนักท่องเที่ยว (Tourist) หรือผู้เดินทางผ่าน (TRANSIT)
  2. มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน
  3. ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  4. ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง
  5. ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันเข้าขอรับอนุญาต

คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องปฎิบัติดังนี้

  • มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท)
  • ทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน (มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับตั้งแต่ 2,000-100,0001 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
  • ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่นหรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท)
  • ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้
  • กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ
  • กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงานต้องยื่นคำร้องแก้ไข

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *