ฝ่ายฝึกอบรม กับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน EP.1

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ฝ่ายฝึกอบรม (Training & Development) จะเรียกสั้นๆ ว่า กรมพัฒฯ

มีหน้าที่อะไร

(ฉบับย่อ) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ เกี่ยวกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน มาตรฐานฝีมือแรงงาน การรับรองความรู้ความสามารถ และการส่งเสริม เครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ

(ฉบับเต็ม) อ่านได้ที่ http://www.dsd.go.th/DSD/Home/Mission

ทำไมต้องติดต่อกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

– ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องยื่นขอรับรองหลักสูตรกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

เงื่อนไข

– ต้องจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยในรอบปี

คำนวณยังไงดูเลยจ้า

หมายเหตุ

  1. จำนวนลูกจ้าง ณ สิ้นเดือนต้องตรงกับจำนวนที่ยื่นประกันสังคม ต้องขอจำนวนที่ payroll หรือไม่ก็สวัสดิการนะคะ
  2. สามารถนับรวมลูกจ้างซึ่งเป็นผู้รับการฝึกที่ได้ลาออกไปแล้วในระหว่างปีด้วย

ขั้นตอนการดำเนินการ

แบบฟอร์มดาวน์โหลด กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน http:// http://www.dsd.go.th/DSD/Doc/index2559?CATEGORY_DOCUMENT_ID=1538&filter=

1. ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ (แบบ สท.1 และ สท.4)

– กรณีมีสาขาให้นับรวมจำนวนลูกจ้างทุกสาขามารวมกัน ขึ้นทะเบียนที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

2. ดำเนินการจัดฝึกอบรม ให้ครบตามสัดส่วนแต่ละปี และยื่นรับรองหลักสูตร รายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายใน 60 วัน นับจากวันอบรม (แต่ไม่เกินวันที่ 15 มกราคมของปีถัดไป)

2.1 จัดอบรม ดำเนินการเองฝึกเอง (In-house Training) ยื่นแบบ ฝย/ฝป 1, 2-1,32.2. ส่งฝึกอบรมภายนอก (Public Training) ยื่นแบบ ฝย/ฝป 1, 2-22.3 ชี้แจงค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่ผ่านการรับรอง สามารถยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรได้เพิ่มอีก 100% (เฉพาะกรณีการดำเนินการฝึกเอง ส่วนกรณีส่งฝึกอบรมภายนอก กรมสรรพากรจะพิจารณาค่าใช้จ่ายจากใบเสร็จที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมเรียกเก็บโดยไม่ต้องผ่านกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
3. ยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (แบบ สท.2) พร้อมสำเนาหนังสือรับรองการฝึกอบรมฝีมือแรงงานประจำปีนั้นๆ
กรณีจัดครบ ไม่ต้องชำระเงินสมทบเพิ่มเติมใดๆ
กรณีจัดไม่ครบ คิดตามสัดส่วน (อันนี้ขออธิบายใน EP.2)

***ผู้ประกอบกิจการที่มีสำนักงานสาขา ให้ยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สท.2) รวมกัน ณ หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

สถานที่ยื่นคำขอ

  • กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝืมือแรงงาน หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร
  • จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
  • การยื่นออนไลน์ ต้องนำส่งในเว็บของพื้นที่ หรือจังหวัดนั้นๆ การยื่นออนไลน์ เมื่อมีการแก้ไข หรือเมื่อได้การรับรองหลักสูตรแล้ว ก็ต้องเข้าไปรับด้วยตนเองค่ะ

อย่างที่แจ้งไว้ ยังมีกรณีที่องค์กรไม่ได้จัดอบรม หรือจัดไม่ครบตามสัดส่วน จ่ายชำระล่าช้า จะต้องดำเนินการอย่างไรมาเล่าให้ฟังอีกในครั้งหน้าค่ะ

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *