Month: September 2019

งานจัดอบรม กับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน EP.2

หากจัดไม่ครบตามสัดส่วน จะต้องทำอย่างไร  นายจ้าง หรือผู้ประกอบการต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ และให้ผู้ประกอบกิจการในข่ายบังคับยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สท.2) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปทุกปี การคำนวณเงินสมทบ อัตราเงินสมทบ = ร้อยละ 1 ของฐานค่าจ้างที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ ฐานค่าจ้าง    = อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดเป็นอัตราเดียวกันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง แรงงานที่ผู้ประกอบกิจการจ่ายในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการส่งเงินสมทบ x 30 อ้างอิง: ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 9) ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ต่ำสุด = 308 บาท การคำนวณเงินเพิ่ม ผู้ประกอบกิจการรายใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนด

Read More

ฝ่ายฝึกอบรม กับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน EP.1

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ฝ่ายฝึกอบรม (Training & Development) จะเรียกสั้นๆ ว่า กรมพัฒฯ มีหน้าที่อะไร (ฉบับย่อ) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ เกี่ยวกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน มาตรฐานฝีมือแรงงาน การรับรองความรู้ความสามารถ และการส่งเสริม เครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ (ฉบับเต็ม) อ่านได้ที่ http://www.dsd.go.th/DSD/Home/Mission ทำไมต้องติดต่อกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน – ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องยื่นขอรับรองหลักสูตรกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เงื่อนไข – ต้องจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยในรอบปี คำนวณยังไงดูเลยจ้า หมายเหตุ จำนวนลูกจ้าง ณ สิ้นเดือนต้องตรงกับจำนวนที่ยื่นประกันสังคม ต้องขอจำนวนที่ payroll หรือไม่ก็สวัสดิการนะคะ สามารถนับรวมลูกจ้างซึ่งเป็นผู้รับการฝึกที่ได้ลาออกไปแล้วในระหว่างปีด้วย

Read More

หาคน ที่กรมจัดหางาน

กรมการจัดหางาน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำ คุ้มครองคนหางาน ศึกษา วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงาน และแนวโน้มตลาดแรงงานเป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารด้านการส่งเสริมการมีงานทำ เพื่อให้ประชากรมีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และความถนัด ไม่ถูกหลอกลวง ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานกฎหมายว่าด้วย การทำงานของคนต่างด้าวและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงานและแนวโน้มความต้องการแรงงานและเป็นศูนย์ทะเบียนข้อมูลแรงงาน 3. พัฒนาระบบ รูปแบบ มาตราการ และวิธีการด้านการจัดหางานจัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านแรงงานของกระทรวง รวมทั้งกำหนดมาตราฐานอาชีพและอุตสาหกรรม  4. ให้คำปรึกษา ส่งเสริม และให้บริการแนะแนวอาชีพ ทดสอบความถนัดให้แก่ประชาชน  5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย (ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมการจัดหางาน) การขึ้นทะเบียนนายจ้างเพื่อคัดรายชื่อคนว่างงาน มีขั้นตอน ดังนี้  1. เอกสารที่ต้องเตรียม สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ได้ที่  https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/ar1_th/7bda1a41a2dbce2570911a2821abbe06.pdf http://smartjob.doe.go.th/INF/MultiMedia

Read More

ตรวจประวัติอาชญากรรมอย่างไร ไปไม่ให้เสียเวลา

ฝ่ายบุคคล กับ ขั้นตอนขอตรวจประวัติอาชญากรรม ไม่น้ำเยอะเอาแต่เนื้อ ทำยังไง เอกสารประกอบพร้อมตัวอย่าง ไปดูกัน 1. หนังสือขอตรวจสอบประวัติอาชญากร ต้องพิมพ์เองเนื้อหาดังตัวอย่าง http://criminal.police.go.th/documents/เอกชน-ตรวจชื่อ.pdf ด้วยหัวกระดาษบริษัท ผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตราบริษัท 2. เตรียมเอกสาร ดาวน์โหลดจากคู่มือ http://www.criminal.police.go.th/documents/manual-02.pdf หนังสือยินยอมให้ตรวจสอบประวัติบุคคล (หน้า 25) ดาวน์โหลดมาเขียนได้ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน (พนักงานผู้ถูกตรวจ+ลายเซ็น) หนังสือนำส่งขอตรวจสอบด้วยชื่อ-ชื่อสกุล หน้า 28 บัญชีรายชื่อบุคคลที่ขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หน้า 29 ***สำหรับหน้า 28 – 29 ต้องพิมพ์เองทุกหน้า ไม่ปริ้นท์มากรอกด้วยลายมือ พิมพ์ด้วย Angsana New ขนาดอักษร16

Read More

หน่วยงานราชการที่ HR ติดต่อ

การทำงาน HR หลีกเลี่ยงไม่ได้กับกฎระเบียนข้อบังคับต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอก เช่น กฎระเบียนบริษัท กฎหมายแรงงาน การทำสัญญาว่างจ้าง การตรวจสอบประวัติพนักงาน รวมไปถึงการดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการต่างๆ ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กร  ซึ่งต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชนมากมาย ในบทความนี้ขอกล่าวถึงหน่วยราชการที่ HR ต้องติดต่อด้วยหลักๆ ประมาณนี้ค่ะ  ส่วนรายละเอียด ขั้นตอนการดำเนินงาน เอกสารประกอบ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทร. ที่ไหนอย่างไร ต้องเป็นบทความหน้านะคะ…ขอติดไว้ก่อน หากเพื่อนๆ คนใดมีเพิ่มเติมจากนี้ก็แนะนำกันเข้ามาได้นะคะ จะได้เป็นการแบ่งปันเพื่อนร่วมอาชีพกันค่ะ ขอขอบคุณ

9 หลักการ ที่ควรคำนึงก่อนเลือกซื้อโปรแกรมเงินเดือน

1. มีปัญหา (Pain Point) อะไรลิสมาเป็นข้อๆ  เริ่มต้นก่อนซื้อโปรแกรมเงินเดือน ควรลิสปัญหาของการทำเงินเดือนออกมาก่อน เช่น – ช่วงทำเงินเดือนทีไร กลับบ้านดึกทุกวัน – กว่าจะรวบรวมโอทีจากแต่ละสาขา เล่นเอาเหนื่อย – การเขียนลงบันทึกมีโอกาสเอื้อประโยชน์กันได้ – เอางานกลับไปทำที่บ้านก็ไม่ได้ เพราะข้อมูลอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ ต่างๆ เหล่านี้จะให้คำตอบคุณได้ว่าคุณต้องการโปรแกรมเงินเดือนแบบไหนมาช่วยงาน  2. ให้ผู้ใช้งาน (User) ร่วมคัดเลือกโปรแกรม โดยทั่วไป ผู้ที่ตัดสินใจซื้อโปรแกรม คือ เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหาร เมื่อนำมาให้พนักงานใช้งานแล้วเกิดปัญหาใช้งานยากพนักงานอาจมีการต่อต้าน แต่อันที่จริงแล้วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมักจะมีการต่อต้านเสมอ ดังนั้น การเลือกซื้อโปรแกรมควรให้ payroll มีส่วนร่วมในการคัดเลือกจะช่วยลดปัญหา 3. งบประมาณ งบประมาณที่ตั้งจากฝ่ายบริหารเป็นปัจจัยหลักที่ต้องนำมาใช้ในการตัดสินใจ แต่หากว่าเราได้โปรแกรมที่เหมาะสมนำมาช่วยงานได้

Read More

ทำความรู้จักสายงาน HR

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล Human Resources หรือ HR มีหลายส่วนงานเหมือนอย่างเช่นสายงานอื่น แบ่งตามหน้าที่หลักในงานนั้นๆ โดยผู้เขียนขอสรุป ดังนี้ 1. ส่วนวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning)  ชื่อตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น Manpower Planning, HR Planning เป็นต้น มีหน้าที่ความรับผิดชอบ วิเคราะห์หน้าที่งาน (Job Analysis) วางแผนการใช้กำลังคน เพื่อจัดทำโครงสร้างบริษัท (Organization Chart) มีกี่แผนก แต่ละแผนกต้องการพนักงานกี่คน  ควบคุมจำนวนพนักงานให้สอดคล้อง เหมาะสมกับการดำเนินงานภายในองค์กร 2. ส่วนสรรหาว่าจ้าง (Recruitment & Selection) ชื่อตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น Recruitment,

Read More

5 ข้อที่ควรทำ ก่อนการเปลี่ยนสายงาน

1. สำรวจ ค้นหา และยืนยันกับตนเองก่อน ว่าอยากเปลี่ยนสายงาน หลายๆ คนโชคดีเรียนจบมาแล้วได้ทำงานในสายงานที่ตนเองชอบ แต่ก็มีหลายๆ คนที่ยังไม่พบวตนเอง ว่าชอบงานอะไร หรืออยากทำงานด้านไหน อย่างที่ผู้เขียนเคยเกริ่นตั้งแต่ “บทนำ” หาอยู่นานกว่าจะเจอ ลองเอากระดาษมาจดดูว่าต้องการอะไร เช่น ต้องการงานที่เป็นเวลาอยู่ในสำนักงาน หรือ ชอบออกไปพบป่ะคนเยอะ อย่างงาน Event เป็นต้น 2. หาข้อมูล ศึกษาเพิ่มเติมในสายงานใหม่ เมื่อได้กลุ่มงานที่เราสนใจแล้ว ควรหาข้อมูลเพื่อยืนยันว่ากลุ่มงานนั้นมีหน้าที่อะไร มีกี่ส่วนงาน เราอยากทำส่วนงานไหน เช่น งาน HR มี แรงงานสัมพันธ์ ส่วนงานอบรมพัฒนา ฯลฯ  3. สื่อสารกับคนในครอบครัว เพราะการเปลี่ยนอาชีพ หรือสายงานใหม่อาจจะส่งผลกระทบกับในครอบครัว

Read More

บทนำ

ประสบการณ์ เมื่อเริ่มต้นสายงานใหม่ เมื่อ 20 กว่าปีก่อน (กรุณาอย่าถามอายุ ^^) จากที่ผู้เขียนจบด้านศิลปะ เคยเข้าฝึกงานกับกองถ่ายภาพยนตร์ และได้รู้ตัวเองในวันนั้นว่าสายงานนี้คงไม่ใช่ทาง แต่ก็ยังคง ไม่ทราบตัวเองว่าอยากทำงานอะไร จึงลองสมัครงานครูโรงเรียนเอกชน แรกๆ ก็สนุก นักเรียนน่ารัก แต่ยังไม่ใช่อยู่ดี ระหว่างทำอาชีพครู ผู้เขียนไปเรียนพิมพ์ดีด และภาษาอังกฤษ เพราะช่วงเวลานั้นหากเป็น 2 ทักษะนี้ก็จะสมัครงานได้ง่าย  จากนั้นได้รับงานใหม่เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ ทำหน้าที่อยู่หลายปี ได้ขึ้นถึงระดับหัวหน้างาน เมื่อเข้ามาสัมผัสงานส่วนสำนักงาน (Back office) และร่วมงานกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resources) ทำให้ผู้เขียนเข้าใจระบบงาน และสนใจงานด้านนี้มากขึ้น ความตั้งใจที่จะไปต่อในอาชีพการงานจึงชัดเจนมากขึ้น  เมื่อต้องการเปลี่ยนสายงานมาทำ HR ผู้เขียนตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโทด้านบริหารงานบุคคล และสมัครงานใหม่ในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล

Read More